ทนายของแผ่นดิน



เริ่มต้นอยากจะให้ผู้อ่านนึกไว้ในใจก่อนว่า เราควรแยกให้ออกระหว่าง ระบบ กับ ตัวบุคคล

กรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เรื่องที่ดินเขายายเที่ยง บางคนอาจจะบอกว่า อัยการไม่ใช่ศาล ตัดสินได้อย่างไร ทำให้ผมนึกถึงอีกคดีนึง คือคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นมีราชนิกุลกลุ่มนึงก็ออกมาโวยวายเหมือนกัน ว่าอัยการไม่ใช่ศาล ตัดสินคดีได้อย่างไร

ถูกต้องแล้วอัยการไม่ใช่ศาล แต่นี่เป็นกระบวนการยุติธรรม หากรัฐเสียหาย หรือเป็นความผิดทางอาญา อัยการจะทำหน้าที่เป็นทนายของแผ่นดิน สั่งฟ้องหากคดีมีมูล สั่งไม่ฟ้องหากสำนวนอ่อน พูดง่าย ๆ ภาษาชาวบ้านคือ ถ้าดูตามข้อเท็จจริงกับข้อกฏหมายแล้วมีแนวโน้มว่าจะชนะ ก็สั่งฟ้อง

สองกรณีข้างต้น ถ้าถามว่าอัยการมีสิทิ์ที่จะทำหรือไม่ ตามระบบ หรือ ตามกระบวนการแล้ว ตอบว่าทำได้ แต่ถ้าถามว่า สมเหตุสมผล ถูกต้องตามข้อกฏหมายหรือไม่ ต้องดูในรายละเอียดอีกที

กรณีเขายายเที่ยง อาจจะค้านสายตาประชาชนอยู่มาก เพราะมีข้อโต้แย้งออกมามาก และฟังดูจะมีน้ำหนัก ทำไมชาวบ้านรุกที่ป่าสงวนที่เชิงเขาถึงผิดต้องติดคุก แต่กรณีองคมนตรี สร้างบ้านใหญ่โตบนภูเขา อัยการสั่งไม่ฟ้อง อ้างว่าไม่มีเจตนา

ย้อนกลับมาที่ประเด็นที่ว่า เราควรแยกให้ออกระหว่าง ระบบ กับ ตัวบุคคล อีกที กรณีเขายายเที่ยง ต้องตั้งคำถามใส่เควชชั่นมาส์กตัวโต ๆ ว่า อัยการคนที่สั่งไม่ฟ้องนั้นทำตามหลักการแล้วหรือไม่ ในองค์กรของอัยการ มีบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ อยู่หลายคน ด้วยความรู้กฎหมายอันน้อยนิดจึงทำให้ไม่รู้ว่า มีบทลงโทษ อัยการที่สั่งคดีโดยผิดหลักการหรือไม่

ถึงเวลา รีเอนจิเนียริ่ง กระบวนการยุติธรรมแล้วหรือยัง?

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

newskythailand Gallery

Twitter Updates (thaksinlive)

Red Twitter ทวิตเตอร์เสื้อแดง

จำนวนผู้เยี่ยมชม