GT200 เสี่ย ส. พ่อค้าอาวุธ กับบิ๊กกองทัพ ลูกค้าชั้นดี?


แล้วผลทดสอบ จีที 200 ก็ชี้ชัดว่า ไร้ประสิทธิภาพ ค่าโง่ที่ต้องซื้อไม้ล้างป่าช้าราคาแพง เครื่องละ 1.2 ล้าน อาจสูงนับพันล้าน เพราะมีการนำเข้าเครื่องตรวจระเบิดยี่ห้อนี้มาตั้งแต่ ปี 2547 โดยบริษัทผู้นำเข้าเพียงรายเดียว คือ " AVIA SATCOM " ล่าสุด ประชาชาติธุรกิจ เผยกองทัพเป็นลูกค้าชั้นดีของ เสี่ย ส.

.... แล้ว   ผลทดสอบ ก็ออกมายืนยันว่า  เครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดจีที 200  ไร้ประสิทธิภาพ

 รายงานผลการทดสอบ จีที 200  ทำการทดสอบโดย เอาวัตถุระเบิดใส่ไว้ในกล่อง 1 กล่องและมีกล่องเปล่าอีก 3 กล่อง ในสถานที่ปิด และให้บุคคลที่ทำการทดสอบชี้กล่องถึง 20 ครั้ง     ผลที่ออกมา คือ ตรวจสอบได้ถูกต้องเพียง 4 ครั้ง จาก 20 ครั้ง ...จึงไม่มีนัยยะทางสถิติ
     ผลตรวจสอบที่อยู่ในมือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้ ผู้นำประเทศ ตัดสินใจ  " ไม่มีจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติม"
     " ส่วนหน่วยงานที่ยังคงใช้อุปกรณ์นี้อยู่ก็จะมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเร่งทำความเข้าใจให้ตรงกัน และถ้าหากหน่วยงานใดยังมีความข้องใจ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯก็พร้อมที่จะทดสอบให้ทราบอีกครั้ง  "
     เครดิตที่เปิดโปงค่าโง่ ต้องยกให้ "เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ "  นักวิชาการจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ที่ ออกมาตั้งข้อสงสัยว่า จีที 200 ไม่มีประสิทธิภาพ มีความผิดพลาดในการตรวจหาวัตถุระเบิด ทำให้เจ้าหน้าที่และประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก อีกทั้งหลายประเทศเลิกใช้แล้ว
     เจษฎา เปรียบเทียบ จีที มูลค่า 1.2 ล้านกับ ไม้ล้างป่าช้า !!!
     แต่คนที่ การันตี การใช้งานของ  จีที 200 คือ   แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
     "ขอบอกว่าเครื่องจีที 200 ยังมีความจำเป็นในภาคใต้ แต่ต้องใช้แค่ชี้เป้าเบื้องต้น อย่าไปปักใจเชื่อ ต้องใช้เครื่องมืออื่นตรวจซ้ำ โดยเครื่องนี้จะใช้ตรวจหาสาร 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ สารระเบิด สารเสพติด กระสุนปืน และศพมนุษย์ ถามว่าแม่นยำหรือไม่ ถ้าคนใช้มีความพร้อม ใช้ถูกวิธี และฝึกฝนมาอย่างดี ก็ชี้ทุกครั้ง"
     คำว่า "...ก็ชี้ถูกทุกครั้ง"ของ แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
     ทำให้มีการนำเข้าเครื่องตรวจระเบิด เป็นจำนวนมาก
     หากย้อนกลับไปดู   เครื่องตรวจระเบิด จีที 200  มีการนำมาใช้ครั้งแรกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้  ตั้งแต่ปี 2547  
     กองทัพบกเป็นผู้จัดซื้อ เครื่อง จีที 200  ราคาเฉลี่ยตกเครื่องละ 1.2 ล้านบาท โดยเป็นการจัดซื้อจาก บริษัท AVIA SATCOM CO.LTD   ที่ผ่านมามีการจัดซื้อแล้วกว่า 535  เครื่อง จะกำลังมีการสั่งซื้อเพิ่มอีกหลายร้อยเครื่อง
     แม้แต่ องค์กรปกครองท้องถิ่นมีต้องการสั่งซื้อ เพราะเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของ  จีที่ 200 ขณะนี้ ใบสั่งซื้อ ทีจี 200 มากกว่าพันเครื่องไปแล้ว
     ก่อนหน้านี้     "ประชาชาติธุรกิจ"ตรวจสอบพบว่า กองทัพบกได้สั่งซื้อเครื่องตรวจจับสารเสพติด,อาวุธและวัตถุระเบิด ยี่ห้อ "จีที 200" จากประเทศอังกฤษ อย่างน้อย  8 ครั้ง  รวม 466 เครื่อง เป็นเงินทั้งหมด 419.5 ล้านบาท (เท่าที่ตรวจพบ)
     ครั้งแรกปลายเดือนกรกฎาคม 2550 จำนวน 2 เครื่อง ๆละ 950,000 บาท เป็นเงิน 1,900,000 บาท
     ครั้งที่ 2 วันที่ 18 ส.ค. 2551  จำนวน 2 เครื่อง  ๆ ละ 900,000 บาท  เป็นเงิน  1,800,000 บาท
     ครั้งที่ 3 วันที่ 3 ก.ย. 2551  จำนวน 19 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน  17,100,000 บาท 
     ครั้งที่ 4 วันที่ 16 ก.ย. 2551  จำนวน 18 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน 16,200,000 บาท
     ครั้งที่ 5 วันที่ 30 ก.ย. 2551 จำนวน  44 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท  เป็นเงิน  39,600,000 บาท 
     ครั้งที่ 6 วันที่ 27 ก.พ. 2552  จำนวน 222 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน 199,800,000 บาท
     ครั้งที่ 7 วันที่  8 เม.ย. 2552 จำนวน 129 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน  116,100,000 บาท
     ครั้งที่ 8 วันที่ 28 เม.ย. 2552 จำนวน 30 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน 27,000,000 บาท 
     ทั้ง 8 ครั้ง เป็นการจัดซื้อผ่านบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด เพียงรายเดียว
     บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด (AVIA SATCOM CO.,LTD.)  ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ต่อมาเพิ่มทุนอีก 4 ครั้ง ล่าสุดวันที่ 5 มิถุนายน 2552 เพิ่มเป็น 250 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่  174/68-71 หมู่ 9 ถนนวิภาวดี แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ  มีนายสุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ ถือหุ้นใหญ่ 2,399,999 หุ้น จากทั้งหมด 2,500,000 หุ้น
     นายสุทธิวัฒน์มีบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านอุปกรณ์สื่อสาร เทคโนโลยี ซอฟแวร์ อีกอย่างน้อย 4 บริษัท ได้แก่  บริษัท ลิบราเวย์ จำกัด , บริษัท แอโรว์เทคนิค เอวิเอชั่น เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด  บริษัท เอวิเอ ซิสเต็ม จำกัด  และ  บริษัท เอวิเอ ซาบ เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเพิ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา (ให้บริการโครงข่าวสื่อสารและอุปกรณ์ซอฟแวร์)
     หุ้นส่วนธุรกิจของนายสุทธิวัฒน์ คือ พล.อ.อภิชิต กานตรัตน์ อดีตผู้ทรงวุฒิพิเศษกองบัญชาการทหารสูงสุด   เรืออากาศเอก ขจรศักดิ์ วัฒนางกูร  และกลุ่มบริษัท ซาบ จากประเทศสวีเดน (ตัวแทนจัดจำหน่ายเครื่องบนกริฟเฟ่นให้กองทัพอากาศ)  โดย พล.อ.อภิชิตยังเป็นกรรมการ บริษัท เอวิเอ ซาบ เทคโนโลยี จำกัดอีกแห่งหนึ่ง
     บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ทำการค้ากับกองทัพมานาน ตั้งแต่ปี 2542 เคยเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์วิทยุสื่อสารให้ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.)  กองบัญชาการทหารสูงสุด  , กรมสื่อสารทหารอากาศ กองทัพอากาศ , กรมการขนส่งทหารบก กองทัพบก นับสิบรายการ อาทิ
     เครื่องมือสื่อสารเพื่อใช้ราชการกองกำลังเฉพาะกิจ 976 ไทย/อีรัก  วงเงิน 25.1 ล้านบาท  , ชิ้นส่วนซ่อมเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบ 47 วงเงิน  19.3 ล้านบาท , รถวิทยุในระบบควบคุมอากาศยานทางยุทธวิธี  จำนวน  39.2 ล้านบาท , ซ่อมบำรุงเรดาร์แบบเคลื่อนที่แบบgiraffe  34.2 ล้านบาท  , ซื้อระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(VOIP) จำนวน  5.2 ล้านบาท เป็นต้น
     นอกจากขาย "จีที 200" ให้กองทัพบก  เอกชนรายนี้ยังขายเครื่องมือชนิดเดียวกันให้หน่วยงานอื่นอย่างน้อย 2 แห่ง ได้แก่
     กรมศุลกากร จำนวน 6 เครื่อง  เมื่อวันที่  19 มิถุยายน 2552  ราคา 2,560,000 บาท  (เครื่องละ 426,666 บาท) 
     และกรมราชองครักษ์  จำนวน 3 ชุด เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2552  ราคา 3,600,000 บาท (ชุดละ 1,200,000 บาท)
     ก่อนหน้านี้  พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา (บิ๊กป๊อก) ผู้บัญชาการทหารบก  ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 กรณีการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพบก โดยเฉพาะเครื่องตรวจหาสารวัตถุระเบิดจีที 200  สำหรับใช้ปฏิบัติภารกิจงานด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า
     "ไม่มีปัญหา ยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกทั้งหมด มีแนวทางคือว่าดีไม่ดีอย่างไรก็พิสูจน์  ส่วนจะอ้างว่าการจัดซื้อสุจริตหรือทุจริตนั้น ถือเป็นคนละกรณีกัน ถ้าจะบอกว่าซื้อแล้วมีผลประโยชน์อย่างไร ก็ต้องดำเนินการ เจ้าหน้าที่ทุกส่วนของกองทัพบกพร้อมพิสูจน์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สืบสวนสอบสวนมา หากทำผิดจริงก็ปลด เราทำทุกอย่างโปร่งใส

     บัดนี้ น้ำลดตอผุดแล้ว เพียง แต่จะหาคนรับผิดชอบ ได้หรือไม่ เท่านั้น

ที่มา:  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลา 15:15:40 น.

ข่าวด่วน ดู people channel โดยไม่ต้องใช้จานได้แล้ว


แท็กซี่แถวบ้านบอกว่าเอาทีวีไปซ่อม ช่างเค้าจูนมาให้ เสียบเสาธรรมดา ดู people channel ได้ -- ผมไม่เชื่อ ไม่สนใจเพราะดูผ่านเน็ตอยู่แล้ว

ร้านขายผักบ้านตรงข้ามก็บอกว่า น้องชายที่เป็นแท็กซี่มาจูนให้ และบอกว่าให้ถามแท็กซี่ดู แท็กซี่ทำเป็นทุกคน -- เอ๊ะยังไง

ด้วยความที่เป็นแท็กซี่เก่า คว้ารีโมทมาลองซิ เผื่อได้ ค้นหาช่องโดยอัตโนมัติ

อ่ะจ้ากกกก ได้จริง ๆ อ่ะ ใครยังไม่มีจานลองทำดูนะครับเผื่อว่าไม่ได้เป็นแท็กซี่ก็จูนได้

ปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ

วันเสาร์ ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 0:00 น
ที่สุด นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็สั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เชิญนักวิชาการมาออกแบบทดลองพิสูจน์ประสิทธิภาพ เครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200

หลังจากอังกฤษสั่งดำเนินคดีบริษัท ผู้ผลิต และเตือนไปทั่วโลก เป็นเครื่องลวงโลก

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์วิทยาศาสตร์จุฬาฯก็ฟันธง แหกตา เพราะผ่าไปข้างใน ไม่มีแม้แต่แผงวงจรไฟฟ้า มีแค่แผ่นพลาสติกอยู่ข้างใน นอนน้อย เหงื่อออก เครื่องก็ใช้ไม่ได้ เอาสิ...

ไม่เข้าหลักวิทยาศาสตร์ แต่เข้าหลักไสยศาสตร์ เหมือนไม้ชี้ศพในป่าช้ามากกว่า ตอนนี้ ดร.เจษฎา เลยเจอคำสั่งลับ ปิดปากไปเรียบร้อย

ขณะที่คุณหญิงหมอ พรทิพย์ โรจนสุนันท์ นั่งยันนอนยัน ใช้ได้ผลดีมาก ๆ แถมแว้ด ๆ อย่าวิจารณ์มากนะ เดี๋ยวเจ้าหน้าที่หมดกำลังใจ อะไรเนี่ย พูดได้ไง

ช่างเหมือน พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ที่พาคณะผู้ใกล้ชิดไป ดูงานที่อังกฤษ พอนักข่าวซักหนักเข้า ควันออกหู ชี้หน้าด่า อย่ามาถาม ผมเป็นวีรบุรุษนะ โห...

คุณหญิงหมอก็ไม่ต่างนะ ที่จริงต้องขอบคุณด้วยซ้ำ มีคนช่วยเป็นหูเป็นตา ทำให้โปร่งใส

เพราะซื้อด้วยเงินแผ่นดินทั้งนั้น ไม่ใช่เงินนายหมูนายแมวที่ ไหนนะ

ถ้าเครื่องดีจริง ก็ใช้ต่อเลย แต่หากไม่ดี จะได้โละทิ้ง ไม่เห็น มีใครไปตำหนิเจ้าหน้าที่ผู้ใช้เครื่องเลย มีแต่อยากให้ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงตาย

แล้วทำไมจะตรวจสอบไม่ได้ ???

เหนืออื่นใด ทำไมการซื้อเครื่องจีที 200 ตั้งพันกว่าเครื่อง ราคาถึงต่างกันนัก ใครงาบหัวคิว ใครได้ค่าคอมมิสชัน ทั้งที่ซื้อจากบริษัทเดียวกัน เอ วิ เอ แซทคอม

นักข่าวตามไปดู เป็นแค่ห้องแถวมอซอ แต่ทำธุรกิจเป็นพัน ๆล้าน ???

ไล่ดูราคาบ้าง ก.พ. 52 กองทัพบกซื้อ 435 เครื่อง เครื่องละ 9 แสน เม.ย. 52 บช.ภ.4 ซื้อ 50 เครื่อง เครื่องละ 1 ล้าน ขณะที่ มิ.ย. 52 ปีเดียวกัน กรมศุลฯซื้อ 6 เครื่อง เครื่องละ 4.26 แสน

หรือราคาเครื่องที่ต่างกันเกือบครึ่ง หน่วยงานที่ซื้อ ซื้อแค่ครึ่ง อัน ???

ยังมีข่าวอีกว่า บริษัทนี้ยังเป็นเอเย่นต์ขายเครื่องบิน “กริพเพน” สวีเดน ที่ครม.เพิ่งเคาะให้ซื้อ 6 ลำ เป็นเงิน 1.6 หมื่นล้าน ทั้งที่เคยเป็นข่าวฉาวโฉ่ ซื้อแพงกว่าประเทศอื่นตั้งเท่าตัว

มันปกติหรือ!!!

แต่ก็น่าผิดหวัง นายกฯอ้อมแอ้ม อย่าไปพูดว่าจัดซื้อผิดปกติหรือไม่ ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคน

ยังจะอุ้มสมอีกหรือ แทนที่จะตั้งกก.สอบข้อเท็จจริง พร้อมกก. ชุดสอบคุณภาพไปเลย

ไหนบอก จัดซื้อยุค “แม้ว” ไง ยิ่งดีสิ ลากไส้ออกมาเลย กลัวอะไรเล่า แต่เชื่อเถอะเรื่องนี้ไม่จบง่าย ๆ หรอก ยิ่งมีข่าวเรือเหาะหรือบอลลูนตรวจการณ์ 350 ล้าน มีรูรั่ว เอาขึ้นบินไม่ได้เช่นกัน

จะปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ คิดหรือ จะมิด ???

ดาวประกายพรึก

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=331&contentID=46922

อ่านเพิ่มเติม เรื่อง gt200 http://www.electoday.com/bbs/viewthread.php?tid=2544

ญี่ปุ่นลดเครดิตลงทุนไทย

เป็นใครก็ต้องสะอึก ยิ่งเป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่มีภารกิจอันยิ่งใหญ่ในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจที่บอบช้ำจากสารพัดพิษไข้ยิ่งต้องสะอึก เพราะภาพรวมเมื่อสิ้นปี 2552 ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2553 ทำท่าว่ากำลังจะกลับมาดีและรัฐบาลก็เพิ่งแถลงผลงานอันเลอเลิศเมื่อครบปี แต่แล้ว "ทุนญี่ปุ่น"ที่เคยยอมรับนับถือกันว่าเป็นมหามิตรทางเศรษฐกิจกับไทยเพราะลงหลักปักฐานไว้ในไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง กลับออกมาประกาศแบบทิ่มกันตรงๆว่า "อาจจะลดการลงทุนลง"
คนที่ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทยต้องให้น้ำหนักในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนก็คือ นายมุเนโนริ ยามาดะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ)ที่ออกมาเปิดเผยภายหลังการเข้าพบนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมว่า "ปัญหาที่เกิดขึ้นในมาบตาพุดทำให้นักธุรกิจญี่ปุ่นมองว่าไทยไม่ใช่ประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับหนึ่งอีกต่อไปแล้ว"
หรืออย่างกรณีที่นายเคียวจิ โคมาชิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เรียกร้องอยากให้รัฐบาลไทยจัดโอกาสให้นักธุรกิจทั้งญี่ปุ่นและชาติอื่นได้รับฟังคำชี้แจงและแนวทางแก้ไขปัญหาโดยตรงจากรัฐบาล เพราะที่ผ่านมานักธุรกิจได้รับข้อมูลต่างๆ ผ่านสื่อมาโดยตลอด แต่บริษัทเอกชนต้องการรู้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาวในอนาคต
เสียงของคนสองคนที่เสมือนตัวแทนนักลงทุนญี่ปุ่นทั้งหมดร้อนถึงภาครัฐ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่ต้องวางกำหนดพบกับเจโทร ของประเทศญี่ปุ่นในเร็วๆนี้ ขณะที่ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ก็มีนัดจะพบกับหอการค้าญี่ปุ่น หรือ เจซีซีในวันที่ 28 มกราคม 2553 นี้เช่นกัน
ต่อกรณีนี้บรรดาภาคเอกชนทั้งไทยและบริษัทร่วมทุนเองต่างก็เป็นกังวลว่างานแท้จริงแล้วปมปัญหามีแค่ประเด็นมาบตาพุดเท่านั้นหรือที่ทำให้กลุ่มทุนญี่ปุ่นถึงกับออกอาการถอดใจไปแบบนี้ และภาครัฐควรจะมีการแก้เกมนี้อย่างไรเพื่อดึงความเชื่อมั่นกลับมา
หากพิเคราะห์ให้ดี ปัญหาความไม่เชื่อมั่นต่อประเทศไทยนั้น เริ่มส่งสัญญาณเป็นลบมาตั้งแต่ปัญหาการเมืองไทยมิได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะในทำเนียบหรือในสภา แต่การเมืองยุคใหม่มีการแสดงพลังกันทั้งด้วยการปิดถนน ยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบิน บุกเวทีการประชุมอาเซียน จนถึงการก่อจลาจลกลางเมือง ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนสร้างความไม่มั่นใจต่อนักลงทุนทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตลาด กระบวนการผลิต และผลประกอบการ
นอกจากประเด็นเหล่านี้แล้ว ประเด็นที่ไทยไม่ควรมองข้ามด้วย คือการเดินตามกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า)เพราะกรณีอาฟต้าถ้าไทยไม่ปรับตัว โดยยังเน้นที่การเป็นฐานการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานจำนวนมากอยู่ ญี่ปุ่นก็จะหันไปมองประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าได้เช่นกัน โดยเฉพาะ เวียดนาม แต่ในทางกลับกันถ้าไทยมีการพัฒนาโดยยกระดับสินค้าที่มีมูลค่าต่อชิ้นส่วนให้สูงขึ้นประเทศไทยก็ยังเป็นแหล่งที่น่าลงทุนอยู่ เพราะเวลานี้บทบาททางการค้าโลกเริ่มเปลี่ยนไปแล้วในโลกการค้าไร้พรมแดน ที่นับจากนี้ไปทั้งผู้ลงทุนและผู้บริโภคจะมีทางเลือกมากขึ้น
ในขณะที่ ปัญหาแรงงานไทยเริ่มหายากขึ้น เพราะคนเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษามากขึ้น ขณะเดียวกันประเทศไทยเริ่มยืนอยู่ในบทบาทที่แย่งแรงงานไทยด้วยกันเองระหว่างอุตสาหกรรม ขณะที่ยังมีอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่ขาดแคลนแรงงานอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเห็นว่าในระยะ4-5 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมากๆในไทยเริ่มหาทางออก โดยการทยอยออกไปขยายฐานการผลิตนอกบ้านบ้างแล้ว
สอดคล้องกับที่ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง มองญี่ปุ่นว่าเป็นกลุ่มทุนที่มีบทบาทที่สุดในประเทศไทย ดังนั้นการออกมาลดเครดิตประเทศไทยโดยดึงเรื่องความน่าลงทุนขึ้นมาพูดครั้งนี้อย่ามองข้ามไป! เพราะมีทั้ง"คำขู่"และ"เอาจริง"ถ้าภาครัฐไม่รีบแก้ไขปัญหา 3 เรื่องให้เร็ว ไล่ตั้งแต่ 1.ต้องรีบยกระดับสินค้า หันไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น 2.ปัญหาการเมืองที่สะสมมานาน จนเรื้อรัง 3.ปัญหามาบตาพุดที่กำลังเป็นประเด็นที่ทำให้ญี่ปุ่นยกขึ้นมาพูดถึงความไม่เชื่อมั่นต่อประเทศไทย
รศ.ดร.สมชาย มองว่าขณะนี้ปัญหาการเมืองเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ถ้าประเทศไทยหลุดพ้นจากปัญหาการเมืองทุกอย่างจะกลับมาเร็ว ภาพลักษณ์การลงทุนของไทยในสายตาต่างชาติก็จะดีขึ้นทันที เพราะมีตัวช่วยในแง่อาฟต้า ที่เวลานี้ถ้าเทียบกับประเทศในกลุ่มอาฟต้าไทยเป็นศูนย์กลางของภาคการผลิตที่มีต้นทุนรวมอยู่ในระดับที่แข่งขันได้อยู่แล้วยกเว้นสินค้าที่ใช้แรงงานจำนวนมาก เพราะมีความได้เปรียบในแง่ฝีมือแรงงาน โดยจะเห็นว่าอุตสาหกรรมที่ไทยเป็นศูนย์กลางในภาคพื้นนี้ที่คือยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ และต่อไปเมื่อมีอาเซียนบวก3บวก6 (กลุ่มอาเซียนคือไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่าบวกจีน,เกาหลี,ญี่ปุ่นและบวกออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย) จะทำให้ประชากรในตลาดดังกล่าวรวมกันมีมากกว่า 2,000 กว่าล้านคน ที่ไทยจะได้อานิสงส์ด้วย ส่วนปัญหามาบตาพุดจะเป็นปัญหาระยะสั้นเกิดผลกระทบในช่วงรอยต่อระหว่างการวางกรอบกฎหมายเพื่อปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 และมาตรการเยียวชุมชนในพื้นที่ แต่ในระยะกลางและระยะยาวนักลงทุนทั่วโลกจะเข้าใจมากขึ้นกรณีที่ไทยมีกติกาเรื่องสิ่งแวดล้อมชัดเจน
เหมือนกับที่นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ซึ่งประกอบไปด้วยสภาหอการค้าแห่งปะรเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยนัดล่าสุด ได้หารือกรณีที่ เจโทร ออกมาแสดงความเห็นว่า ประเทศไทยไม่มีความโดดเด่นที่จะลงทุนเหมือนที่ผ่านมา สืบเนื่องมาจากกรณีปัญหาโครงการมาบตาพุด โดยภาคเอกชนมองว่า เจโทร เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก่นักลงทุนญี่ปุ่นในต่างประเทศ และที่ผ่านมานักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาลงทุนในไทยโดยมีมูลค่าสูงสุด ดังนั้น ความเห็นของเจโทรจึงมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนญี่ปุ่นที่ไม่เคยลงทุนในไทยมาก่อน
ประธานส.อ.ท.กล่าวว่าขณะนี้ยังมองเป็นบวกว่าความเชื่อมั่นของญี่ปุ่นในไทยไม่ได้ถอยไป เพราะในตลาดอาเซียนญี่ปุ่นยังมองไทยเป็นหลัก แต่เนื่องจากเจโทรเป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ผ่านมาอาจจะถูกกดดันจากภาคเอกชนญี่ปุ่นและต้องการให้เจโทรมาหาความชัดเจนจากรัฐบาลไทยมในกรณีปัญหามาบตาพุด เพราะทำให้โครงการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยกระทบไปด้วย และในแง่กกร.เองก็จำเป็นจะต้องส่งสัญญาณบอกรัฐบาลว่าเราไม่รู้อนาคตว่ากลุ่มทุนใหม่จากญี่ปุ่นที่ไม่เคยเข้ามาลงทุนในไทย จะมีท่าทีอย่างไร ซึ่งทุนกลุ่มนี้มีสิทธิ์ที่จะมองฐานการผลิตที่อื่นแทนได้ รวมไปถึงการขยายการลงทุนใหม่จากนักลงทุนที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ ส่วนประเด็นย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปที่อื่นมองว่าทุนญี่ปุ่นไม่ทำเพราะมั่นใจว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆในไทยดีกว่าหลายประเทศ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเวียดนาม ทั้งในแง่การศึกษาสำหรับลูกหลานนักลงทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาพำนักในไทย ที่อยู่อาศัยและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สะดวกกว่า
จากข้อกังวลนี้ในนามกกร.ได้ทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไปในประเด็นที่ภาคเอกชนเป็นห่วงนักลงทุนต่างชาติรายใหม่ที่ไม่เคยเข้ามาลงทุนในไทยโดยไม่ได้เน้นเฉพาะญี่ปุ่นเท่านั้น ที่ไม่เข้าใจปัญหาปัญหามาบตาพุด
"ล่าสุดนายกรัฐมนตรีกำลังจะหารือกับเจโทรและนักลงทุนญี่ปุ่นเพื่อชี้แจงว่าขณะนี้รัฐบาลทำอะไรไปบ้างกรณีปัญหามาบตาพุด และมองว่าการที่ญี่ปุ่นหรือนักลงทุนต่างชาติพูดอะไรออกมารัฐบาลไทยต้องฟัง และต้องอธิบายให้นักลงทุนเข้าใจ ปัญหาต่างๆก็จะจบลงได้"
ส่วนกรณีปัญหาการเมืองเชื่อว่าใครๆก็ตอบไม่ได้ว่าจะจบลงอย่างไร นักการเมืองเองก็ตอบไม่ได้ มันไม่เหมือนปัญหามาบตาพุดที่มีทางจบ ดังนั้นการเมืองสามารถมีการชุมนุมได้แต่อย่าใช้ความรุนแรงก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สุดท้ายไม่ว่าเสียงจากภาครัฐหรือภาคเอกชนจะแสดงความเป็นห่วงภาพลักษณ์การลงทุนไทยมากน้อยแค่ไหน แต่เวลานี้เมื่อพิจารณาจากสถิติตัวเลขเม็ดเงินลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ได้สะท้อนให้เห็นชัดเจนแล้วว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นมีมูลค่าการลงทุนในประเทศไทยลดลงอย่างฮวบฮาบ(ดูตาราง) ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มทุนญี่ปุ่นที่เคยเป็นมิตรแท้หอบเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วยเม็ดเงินลงทุนมากที่สุด เมื่อเทียบกับบรรดาทุนต่างชาติ ติดต่อมาเป็นเวลา เกิน10 ปี เริ่มมีอาการแผ่วลงแล้วอย่างชัดเจน ถึงแม้มูลค่าเงินลงทุนที่ทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจะยังสูงกว่าเม็ดเงินลงทุนจากทุนสัญชาติอื่นก็ตาม แต่นี่ก็เป็นสัญญาณลบที่ไทยต้องเตรียมรับมือไว้แต่เนิ่นๆได้แล้ว!

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,498 21 -23 มกราคม พ.ศ. 2553

แต่รัฐบาลก็ตอบง่าย ๆ ว่า...
ไตรรงค์ยันนักลงทุนญี่ปุ่นยังสนใจลงทุนไทย

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ กล่าวภายหลัง การหารือกับประธานองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ เจโทร ว่านักลงทุนของญี่ปุ่น ยังให้ความมั่นใจต่อการลงทุนในไทย เนื่องจากเห็นว่า ยังมีบรรยากาศของการน่าลงทุน ซึ่งยืนยันว่า เคยผ่านพ้นวิกฤติแล้ว ส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ที่ถือว่าญี่ปุ่นได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้น ตนชี้แจงให้เข้าใจว่า ไทยยึดหลักของกฎหมายเป็นสำคัญ โดยเมื่อศาลตัดสินอย่างไร ก็จะปฏิบัติตาม แต่ขณะเดียวกันรัฐบาล ก็พยายามหาแนวทางช่วยเหลือดูแล โดยมีคลินิกพิเศษที่ให้คำปรึกษา และจะมีการออกประกาศของกระทรวง ขณะเดียวกันจะเร่งผลักดันกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาดูแล ซึ่งคาดว่า จะทันในสมัยการประชุมสภานี้ โดยขั้นตอนทั้งหมด จะใช้เวลาไม่เกิน 5 เดือน

อย่างไรก็ตาม เจโทร มีความเข้าใจดี แต่ยังกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เพราะไม่ต้องการที่จะให้เหมือน กับเดือนเมษายน ช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งตนได้ยืนยันว่า รัฐบาลก็จะพยายามดูแลสถานการณ์ด้วย

ที่มา news.sanook.com

งบ 54 หรืองบหาเสียง

ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 54 อยู่ที่ 2.07 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.7 แสนล้านบาท หรือเพิ่ม  21.8%
  
ส่วนรายได้สุทธิคาดว่าจะอยู่ที่ 1.65 ล้านล้านบาท โดยเป็นงบประมาณขาดดุล  4.20 แสนล้านบาท ประมาณการว่าเศรษฐกิจ ไทยในปี 54 จะขยายตัว 3.5-4.5% โดย   มีเงินเฟ้อที่ระดับ 2-3%
  
งบประมาณที่เพิ่มขึ้นกว่า 21% นี้ น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง หากไม่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
  
สิ่งสำคัญ คือ การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน การเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายหรือไม่
  
ที่น่าห่วง คือ การเกรงว่าจะมีการนำงบประมาณนี้ ไปลงในพื้นที่หาเสียงของพรรคร่วมรัฐบาล เพราะการเมืองวันนี้ยังมีความร้อนระอุอยู่
  
ดังนั้นจึงเกรงว่างบประมาณของ ประเทศ จะกลายเป็นงบหาเสียงของนัก การเมือง
  
ส่วนทางด้านการจัดเก็บรายได้ และเมื่อเศรษฐกิจฟื้น การจัดเก็บรายได้ น่าจะดีขึ้นตามลำดับ
  
สำหรับความจำเป็นในการใช้วงเงินกู้ตาม พ.ร.บ. วงเงิน 4 แสนล้านบาท ที่เหลือนั้นถือเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลจะนำไปใช้ในยามจำเป็น
  
เรื่องนี้รัฐบาลมีข้อแม้ว่า ถ้าเศรษฐกิจฟื้นรัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงขึ้น เอกชนพร้อมลงทุน การใช้เงินโครงการ 1.4 ล้านล้านบาท จึงอาจไม่จำเป็นต้องใช้เงินจาก พ.ร.บ.ดังกล่าว
   
เพราะอย่างน้อยเพื่อความสบายใจ  หนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
  
ไม่ต้องทำให้คนไทยกังวล ว่ามีหนี้ติดตัวเป็นดินพอกหางหมู เพราะรัฐบาลสร้างให้บานทะโรค.





http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=312&contentID=46695

สนนท. ออกแถลงการณ์ต้านรัฐประหาร

สนนท. บุก กองบัญชาการกองทัพบก ออกแถลงการณ์ต่อต้านการปฎิวัติ พร้อมระดมนักศึกษาทั่วประเทศ แสดงพลังคัดค้าน...

ที่บริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพบก นายอนุธี เดชเทวพร เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท) ได้มายื่นแถลงการณ์ถึง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก โดยมีนายทหารเวรผู้ใหญ่เป็นผู้แทนรับหนังสือ ซึ่งมีเนื้อหาพอสรุปได้ว่า จากความเคลื่อนไหวของกองทัพในช่วงที่ผ่านมา มีความน่าเป็นห่วงว่าจะนำไปสู่การรัฐประหารยึดอำนาจและกวาดล้างปราบปราม ประชาชนที่เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย

การข่มขู่ทั้งทางตรงและทาง อ้อมต่อขบวนการประชาชนเป็นไปอย่างแพร่หลายในหมู่กองทัพ ผ่านการออกมาแสดงความเห็นทางการเมือง ที่เรียกร้องให้บ้านเมืองมีความสงบ และต้องการปกป้องชาติ แต่เบื้องหลังคือการปิดปากข่มขู่ประชาชนไม่ให้เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ด้วยข้ออ้างเดิมๆ คือเรื่องของความมั่นคง ของชาติทั้งๆที่ความไม่สงบและความเป็นประชาธิปไตยที่มีอยู่ในบ้านเมืองขณะ นี้ ล้วนแต่เกิดขึ้นจากบทบาทของกองทัพ ที่แสดงออกไม่ถูกต้อง จึงเกรงว่าหากมีรัฐประหารเกิดขึ้นจริง จะเกิดการต่อต้านจากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจนกองทัพไม่สามารถต้านทานได้

ที่มา: Pitakthai.com 01 กุมภาพันธ์ 2010 05:17

วัชระ กรรณิการ์ ไม่ให้ราคาเทพไท

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงกรณี นายเทพไทย เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถึงกรณีที่วิจารณ์การทำงานในฐานะโฆษกพรรค ชทพ.กับโฆษกรัฐบาลต้องแยกกันให้ออกว่า ตนเองไม่ถือสานายเทพไท และไม่เห็นความสำคัญของนายเทพไทมากนัก เพราะทราบอยู่ว่านายเทพไทเป็นคนแบบไหน ดังนั้นการที่เขายิ่งมาพูดในแง่การวิจารณ์บุคคล แทนที่จะพูดหลักการ ทำให้ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประชาชน และการเมือง ทั้งนี้การที่ตนไม่ให้ความสำคัญต่อนายเทพไทนั้น เพราะตนจะมองที่โฆษกพรรค ปชป.หรือผู้บริหารท่านอื่นเป็นหลักมากกว่า เพราะถือเป็นสัญญาณหลักที่ออกมาจากพรรค ไม่ใช่จากตัวบุคคล เพราะการแสดงความคิดเห็นของนายเทพไทนั้น ล้วนเป็นการแสดงความเห็นส่วนบุคคล ซึ่งบางครั้งหาสาระไม่ได้
นายวัชระ กล่าวต่อว่า ส่วนที่นายเทพไทกำลังสับสนบทบาทของตัวเอง ถึงกับไปบอกนายปณิธาน วัฒนายากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ต้องควบคุมตนเองนั้น คิดว่านายเทพไทคงสับสน ตนยอมรับว่าสวมหมวก /2 ใบ แต่ทั้ง 2 ตำแหน่งถือเป็นตำแหน่งทางการทั้งสิ้น มีกฎระเบียบและกฎหมายรองรับ และทุกครั้งที่ตนให้สัมภาษณ์ก็รู้บทบาทรู้หน้าที่ของตัวเองดี ไม่ว่าจะให้สัมภาษณ์ในฐานะรองโฆษกรัฐบาล หรือโฆษกพรรค ชทพ. เพราะตนถือว่าทั้ง 2 ตำแหน่งล้วนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และการสัมภาษณ์แต่ละครั้งตนแยกบทบาทและหน้าที่ได้ชัดเจน หรือนายเทพไทจะลองถามายปณิธานก็ได้ว่าการทำหน้าที่รองโฆษกรัฐบาลของตนมีขาดตกบกพร่องอย่างไร เพราะทุกครั้งที่ตนปฏิบัติหน้าที่ก็ทำอย่างเต็มที่ มีผลงานให้สังคมได้ประจักษ์มาตลอด ไม่เคยวิจารณ์ตัวนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาลในเชิงเสียหาย แต่ตรงกันข้ามเวลาเอยถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ตนแสดงความชื่นชมและเชียร์โดยตลอด ไม่ว่าในขณะนั้นกำลังพูดคุยกับสีอะไรก็ตาม
นายวัชระ กล่าวอีกว่า ส่วนการเป็นโฆษกพรรค ชทพ.ย่อมมีการพูดคุยหรือแถลงถึงเรื่องการเมืองเป็นธรรมดา ซึ่งนายเทพไทที่เป็น ส.ส.มานาน ย่อมรู้ดีว่า การทำหน้าที่โฆษกพรรคการเมืองต้องปกป้องประโยชน์ของพรรค ดังนั้นเมื่อพรรคการเมืองมีความเห็นแตกต่างกันในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ(รธน.) แล้วจะให้ตนแถลงชื่นชมหรือเชียร์อีกฝ่ายหนึ่ง เพราะตนก็ต้องรักษาอุดมการณ์ของพรรค ชทพ. แต่นายเทพไทเองไม่ควรหยิบยกขึ้นมาพูด ควรต่างคนต่างทำหน้าที่ และตนมองว่าเป็นเรื่องประหลาดที่นายเทพไท เอาเรื่องการทำหน้าที่ของตนไปพูดคุยกับนายปณิธานเพื่อขอให้มาควบคุมดูแลการทำหน้าที่ของตน เพราะนั่นมันไม่เกี่ยวกับเรื่องการสนับสนุนแก้ไข รธน.
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายเทพไท ระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผิดสัญญาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายวัชระ กล่าวว่า ถึงวันนี้คงพิสูจน์ไม่ได้ แต่ถ้าพิสูจน์ก็คงง่าย ไม่ยาก ถ้าจะวัดจาก 5 พรรคร่วมรัฐบาลที่ได้มีความคิดเห็นตรงกัน แต่มีเพียงพรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียวที่พูดไม่เหมือนเพื่อน ถึงวันนี้เรารู้สึกเห็นใจนายสุเทพที่พยายามประนีประนอมและตนเห็นด้วยกับการที่นายแพทย์บุรณัติที่พยายามให้พรรคร่วมทำงานเพื่อให้รัฐบาลเดินต่อไปได้ เพราะเรามีเรื่องอื่นๆที่สำคัญต้องทำอยู่มากแต่เรื่องรัฐธรรมนูญก็เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นสัญญาระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมด จะมีอยู่จริงหรือไม่ จึงไม่ใช่เรื่องที่พิสูจน์ยาก เพราะถ้า 5 พรรคพูดเหมือนกันแต่มีเพียง 1 พรรคที่พูดไม่เหมือน แสดงว่าต้องมีฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิดตั้งแต่วันที่ได้หารือตกลงในวันจัดตั้งรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตามถึงวันนี้มันเลยไปแล้วที่จะมาพูดถึงว่ามีสัญญาหรือไม่ ต้องให้สังคมตัดสินเอาเอง แต่พรรค ชทพ.ต้องผลักดันให้มีการแก้ไข รธน.ให้ได้ ส่วนกรณีที่นายเพทไทระบุว่าให้ตนไปดูภูมิหลังของบางพรรคที่ถูกเรียกว่าปลาไหลนั้น ตนเชื่อว่านักการเมืองทุกคนทุกพรรคไม่มีคนไหนพรรคไหนที่จะดีหมดทุกเรื่อง ไม่เคยด่างพร้อยผิดพลาด ชทพ.ก็มี ปชป.ก็มี จึงป่วยการที่จะขุดอดีต ไปพูดแล้วถ้าตนขุดเรื่องสปก.4-01 ขึ้นมาอีก คงมีคนฟังมีคนดูหนังเรื่องนี้เหมือนกัน นายเทพไทเป็นนักการเมืองมานานก็ไม่น่าขุดหนังเก่ามาฉายซ้ำ อย่าให้ประชาชนเบื่อการเมือง ตนไม่เห็นประโยชน์ที่ไปเอาขุดเรื่องเก่ามาพูดเพราะมันย่างจะทำให้นายเทพไทเองถูกประชาชนมองว่าพูดเรื่องไม่มีประโยชน์
ผมขอพูดถึงคุณเทพไทครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย เพราะประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไร กลัวประชาชนเบื่อหน่ายและรังเกียจพรรคการเมืองมากขึ้นที่เอาประเด็นส่วนตัวมาขยาย แต่ก็อยากขอบคุณนายเทพไทที่มาสอนเรื่องมารยาทการเมืองให้กับผม ผมให้เกียรติ เพราะคุณเทพไทเป็นส.ส.มานานกว่า ถึงแม้ว่าผมจะไม่เคยเป็นส.ส.เลยก็ตาม แต่การเป็นส.ส.ไม่ใช่ว่าคนที่ได้เป็นแล้วจะเก่งที่สุดดีที่สุด อย่ามองคนที่ไม่ได้เป็น ส.ส.ว่าอ่อนด้อยหรือโง่กว่าตัวเอง อย่ายกตนข่มท่าน เพราะถ้าคนที่เป็นส.ส.ได้แล้วคิดว่าตัวเองเก่งที่สุดดีที่สุด การเมืองไทยคงไม่เป็นอย่างนี้” นายวัชระ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย จะนำรายชื่อมาส่งให้กับ ชทพ.ในวันจันทร์ที่ 1 ก.พ.53 นายวัชระ กล่าวว่า ทราบว่าการรวบรวมรายของแต่ละพรรคเสร็จเรียบร้อยแล้ว และคงนำมาส่งให้กับนายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค ชทพ.ในวันจันทร์ที่ 1 ก.พ.53 แต่ไม่ทราบเวลาที่แน่ชัด เท่าที่รู้คือเสียงเพียงพอ 1ใน5 ที่จะเสนอขอแก้ไข รธน.อย่างแน่นอน และขอย้ำว่าทั้ง 5 พรรค ไม่หวั่นไหว ไม่เปลี่ยนแนวคิดเรื่องแก้รธน.แน่นอน
เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยเรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวเนื่องจากมีความเห็นไม่ตรงกันกับพรรคปชป.กรณีการแก้ไข รธน. นายวัชระ กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นเหตุผลที่จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลต้องถอนตัวด้วยสาเหตุดังกล่าว เพราะถึงวันนี้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวไปการแก้ไขรธน.ก็ไม่สามารถเดินต่อไปได้ แต่ตรงกันข้ามทั้ง 5 พรรคต้องพยายามโน้มน้าวพรรค ปชป.และสมาชิกสภาให้หันมาร่วมแก้ รธน. เพราะท่าจะถอนตัวคงไม่สามารถหาเหตุผลมาตอบให้กับสังคมได้ แต่จะกลับกลายเป็นการตีรวน ซึ่งการแก้ปัญหาให้กับประชาชนในการบริหารงานประเทศนั้น เป็นคนละเรื่องกัน
นายวัชระ กล่าวว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าเรื่องการรวบรวมรายชื่อแล้ว โดยมีรายชื่อจากทั้ง 5 พรรคร่วมรัฐบาล ส่วนการยกร่างแก้ไขรธน.นั้น ขณะนี้ได้ส่งไปยัง 5 พรรค เพื่อให้พิจารณานั้นเรียบร้อยแล้ว และเชื่อว่าจะส่งกลับคืนมาพร้อมรายชื่อทั้งหมดในวันจันทร์นี้ ส่วนกรณีที่ปชป.ระบุว่ายังมีเวลาในการแก้ไข รธน.อยู่ และควรหารือกันภายหลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลแล้วนั้น คิดว่าการแก้ไขรธน.ควรเริ่มต้นกันได้แล้ว เพราะเรารอมานานกว่า 1ปีแล้ว ซึ่งยังเชื่อว่าสามารถคุยกับพรรคประชาธิปัตย์ได้
เมื่อถามว่าจะเปรตบหัวแล้วลูบหลังหรือไม่ นายวัชระ กล่าวว่า คิดว่า ปชป.คงไม่ทำเช่นนั้น ต่อข้อถามว่า การที่ระบุว่าควรไปพูดคุยกันภายหลังการอภิปรายไว้วางใจนั้นเป็นการซื้อเวลาหรือไม่ นายวัชระ กล่าวว่า ไม่คิดไปไกลขนาดนั้น ทุกอย่างอยู่ที่ข้อเท็จจริง การอภิปรายไม่ไว้วางใจขึ้นอยู่กับเหตุผลและหลักฐาน
แหล่งข่าวระดับสูงจากพรรค ชทพ.เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 1 ก.พ.นี้ แกนนำของพรรคภูมิใจไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน จะรวบรวมรายชื่อทั้งหมดให้กับนายชุมพล จากนั้นทาง ชทพ.จะดำเนินการรวบรวมรายชื่อก่อนที่จะนำไปแนบท้ายร่างขอแก้ไขรธน. 2 ประเด็น เพื่อยื่นเป็นญัตติต่อประธานรัฐสภา โดยจะยื่นในวันพุธที่ 3 ก.พ.53 โดยขณะนี้รายชื่อจาก 5 พรรคร่วมรวมกันได้จำนวน 111 รายชื่อ ได้แก่ ชทพ. 25 รายชื่อ ภูมิใจไทย 43 รายชื่อ เพื่อแผ่นดิน 29 รายชื่อ รวมใจไทยชาติพัฒนา 9 รายชื่อ และกิจสังคม 5 รายชื่อ

ที่มา: ข่าวด่วน:Breaking News
Nation Channel 31 มค. 2553 18:53 น.

newskythailand Gallery

Twitter Updates (thaksinlive)

Red Twitter ทวิตเตอร์เสื้อแดง

จำนวนผู้เยี่ยมชม