โรงเรียนเตรียมอุดมเขียนตำราใส่ร้ายคนเสื้อแดง

เมื่อเวลา 14.00 น. ที่อิมพิเรียลลาดพร้าว นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อและ น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. ร่วมกันแถลงถึงความเคลื่อนไหวในการชุมนุมใหญ่วันที่ 27 มิ.ย. นี้ที่สนามหลวงในเวลา 16.00น.

นายณัฐวุฒิ กล่าวในตอนหนึ่งว่า เราได้รับทราบข้อมูลที่ไปพบว่า ตำราเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นม. 6 ซึ่งมีอาจารย์ 5 คนเขียนตำรา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯและเสื้อแดง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีเนื้อหาที่ทำลายความชอบธรรมของคนเสื้อแดงอย่างมาก ขณะที่พันธมิตรกลับเป็นไปในเชิงบวกเช่น ระบุว่า 11 เมษา 52 นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ได้นำประชาชนไป ร.ร.รอยัลคลิฟบีช พัทยา เพื่อขัดขวางสุดยอดผู้นำอาเซียน ทั้งๆที่ความจริง มีเจ้าหน้าที่ทุบกระจก และไม่มีการพูดถึงกลุ่มเสื้อน้ำเงิน นอกจากนี้ ตำราเรียนยังระบุว่าผู้ชุมนุมปาระเบิดเพลิง เผารถเมล์ ก่อจลาจล และระบุว่าทหารใช้เพียงกระสุนกระดาษ ทั้งที่ข้อมูลทั้งหมดนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งขึ้นมา ที่มีนายสมศักดิ์ บุญทองเป็นประธาน

" ดังนั้นคณะอาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมจึงไม่ควรสรุปและออกมาเขียนเป็นตำราเพราะจะทำให้เยาวชนรุ่นใหม่รับทราบข้อมูลที่บิดเบือนไป และขอเรียกร้องให้อาจารย์ทบทวนการบรรจุเนื้อหาในหนังสือเรียนดังกล่าว ซึ่งหากอาจารย์ไม่มีปฏิกิริยาออกมา ก็อาจจะมีการฉีกบางหน้าของตำราที่มีการบิดเบือนกลุ่มเสื้อแดงบนเวทีในที่ 27 มิ.ย.นี้ เพราะหากครูบาอาจาย์เอาเรื่องไม่จริงมาเขียน ก็จะทำให้ลูกศิษย์ได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะนักเรียน ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา ที่เป็นโรงเรียนใหญ่ที่จะเข้าสู่มหาวิทยาลัยใหญ่ๆอีกหลายแห่งในอนาคต มิเช่นนั้นก็จะเหมือน"อหิงสกะ ที่ ไปเจอออาจารย์ไม่ดีหลอก จนสุดท้ายกลายเป็นองคุลีมาร " ณัฐวุฒิ กล่าว

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ แกนนำกลุ่มเสื้อแดง ออกมาระบุว่า ตำราเรียนวิชาสังคม ชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ใส่ร้ายกลุ่มเสื้อแดงในเหตุการณ์ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาว่า ตนได้มอบหมายให้นายนายวิศรุต สนธิชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ไปตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่เบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นเอกสารประกอบการเรียน ที่อาจารย์ทำขึ้นเพิ่มเติมซึ่งอาจจะเป็นข้อเท็จจริงที่นำมาจากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ให้นักเรียนได้นำไปวิเคราะห์ในแง่มุมที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามในการเรียนการสอนเมื่อมีการนำเหตุการณ์ปัจจุบันที่ยังไม่ได้ข้อยุติมาเป็นกรณีศึกษาและวิเคราะห์กันในชั้นเรียน ก็มักจะมีเสียงร้องเรียนเข้ามาอยู่เสมอ ไม่เฉพาะแต่เหตุการณ์ครั้งนี้ ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนจะต้องมีความระมัดระวัง และมองในแง่มุมที่หลากหลาย เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์มากกว่าที่จะมีข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปเพื่อให้นักเรียนรู้สึกคล้อยตาม

ส่วนตัวแล้วส่งเสริมให้มีการนำเหตุการณ์ปัจจุบันมาเป็นกรณีศึกษาในชั้นเรียน เพราะการเรียนการสอนควรนำสิ่งที่ใกล้ตัวมาวิเคราะห์วิจารณ์ให้เกิดองค์ความรู้ขึ้น แต่ในบางเรื่องที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่ก็ต้องระมัดระวังอย่างมาก คุณหญิงกษมา กล่าว

ที่มา : แนวหน้า และ sanook

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

newskythailand Gallery

Twitter Updates (thaksinlive)

Red Twitter ทวิตเตอร์เสื้อแดง

จำนวนผู้เยี่ยมชม